แนะนำวิธีการชงชา |
|
|
เริ่มที่อุ่นกาน้ำชาก่อนชง
ใช้ใบชาประมาณ 3 กรัม หรือ 1.5 ช้อนชาสำหรับ 1 กาหรือ 170 มล
เลือกอุณหภูมิของน้ำให้เหมาะกับชนิดของชา ยิ่งใบชาดีหรืออ่อนเท่าไหร่ ยิ่งควรจะใช้น้ำที่อุณหภูมิต่ำๆ
- ชาอูหลง ใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส หรือ น้ำที่ใกล้เดือด
- ชาเขียว ใช้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 65-70 องศาเซลเซียส
- ชาสมุนไพร ใช้น้ำเดือด
เลือกเวลาแช่ชาในน้ำให้เหมาะกับชนิดของชา ไม่แนะนำให้ชงชาทิ้งไว้นานๆ แต่ให้เทน้ำร้อนลงในใบชาทิ้งไว้ครู่เดียวแล้วดื่มเลย
- ชาอูหลง ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
- ชาเขียว ใช้เวลาประมาณ 1-2นาที
- ชาสมุนไพร ใช้เวลาประมาณ 3-6 นาทีที
|
|
|
|
Steps for Blending |
|
|
รู้จักชาถ้วยโปรดของคุณ
ถิ่นที่ปลูกของชา เวลาที่ชาถูกเก็บเกี่ยวมาและกระบวนการผลิตต่างมีผลต่อรสชาติของชา ชาที่ดีที่สุดจะถูกปลูกในพื้นที่สูง เช่นตามภูเขา ชาบางชนิดอาจจะถูกปลูกในที่ราบแต่ก็จะไม่ได้รับความนิยมเท่า ความสูงของพื้นที่ปลูกถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในการปลูกชายิ่งสูงชาที่ได้ยิ่งมีคุณภาพดี |
|
|
ชนิดของชา
ชาหลายชนิดอาจจะมองดูหน้าตาคล้ายคลึงกัน ส่วนหนึ่งเพราะชาเหล่านั้นต่างมาจากพืชชนิดเดียวกัน แต่รสชาติของชาแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าถูกปลูกที่ไหน และผ่านกระบวนการผลิตอย่างไรมาบ้าง
WHITE ชาขาว
ชาขาวจะมีรสชาติที่สดชื่นเหมือนใบชาที่เพิ่งถูกเก็บมาใหม่ๆเพราะว่าใบชาเหล่านี้ไม่ได้ถูกผ่านกระบวนการหมักใดๆ อาจจะแค่เพียงผ่านการนำไปคั่วหรือตากแดดหลังจากเก็บเกี่ยวเท่านั้น มีราคาสูง รสชาติอ่อนอยู่แล้วจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมที่จะนำมาเบลนต่อ
GREEN ชาเขียว
ใบชาจะถูกนำไปอบหรือคั่วเพื่อรักษาความเขียวของใบ หลังจากนั้นใบชาจะถูกนำไปนวด ม้วนและนำไปอบแห้งอีกครั้ง เพื่อรักษาประโยชน์และรสชาติ หรืออาจจะถูกเอาไปคั่วแทนถ้าต้องการได้รสชาติของชาแบบ smoky มากขึ้น
OOLONG ชาอูหลง
เป็นชาดั้งเดิมที่มาจากไต้หวันหรือมณฑลฟูเจี้ยน ประเทศจีน ชาอูหลงจะผ่านกระบวนการผัดหรือคั่วด้วยความร้อนด้วยมือหรือเครื่องจักรเพื่อให้เซลล์แตกตัวและ oxidize ก่อน การผลิตชาอูหลงมีหลากหลายแบบทั้งแบบที่ต้องการให้มีรสชาติใกล้เคียงกับชาเขียวด้วยการผ่านกระบวนการน้อยๆ หรือการปล่อยให้ชาผ่านความร้อนมากๆเพื่อให้มีรสชาติเข้มค่อนไปทางชาดำ หลังจากที่ชาถูกคั่วและนวดแล้วก็จะถูกนำไปม้วนเพื่อให้ชาม้วนเป็นก้อนเล็กๆ ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของชาอูหลง
BLACK ชาดำ
เป็นชาที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการหมักและผัดเพื่อให้ oxidize มากที่สุดด้วยเครื่องจักรทำให้ใบชา ก้านและกิ่งแตกตัว และมีสารแทนนินสูงมาก หลังจากที่ชาถูกหมักกว่า18 ชม.แล้วก็จะผ่านความร้อนเพื่อให้เซลล์แตกตัวอีกครั้ง
เครื่องดื่มที่ทำมาจากสมุนไพร เครื่องเทศ รากไม้ ดอกไม้ ผลไม้ไม่นับว่าเป็นชา เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ไม่ได้มาจากต้นชา Camelia Sinensis
|
|
|
Brewing การชงชา
ปริมาณของชาที่ใช้มีผลอย่างมากกับรสชาติของชา หลักการง่ายๆในการชงชา 1 แก้วคือใช้ชาจำนวน 1 ช้อนชากับน้ำ 1 แก้ว ขนาด 6-8 ออนซ์ (175-250ml) หากต้องการชงชาเป็นกาก็ใช้หลักการเดียวกันแต่เพิ่มสัดส่วนของชาให้เหมาะกับปริมาณน้ำที่ใช้ชง
เวลาที่ใช้ชงชาก็เป็นสิ่งสำคัญ ใช้เวลา1-3 นาทีสำหรับชาขาวหรือชาเขียว 3-5 นาทีสำหรับชาอูหลงหรือชาดำ ชาสมุนไพรสามารถทิ้งไว้ได้ถึง 5นาทีโดยที่ส่วนมากรสชาติจะไม่เข้มขึ้นหรือขมหลังจากนั้น ชาที่เป็นผงหรือใบชาบดละเอียดจะใช้เวลาชงน้อยกว่าชาเต็มใบซึ่งจะให้รสชาติของชาที่เข้มข้นกว่าด้วย
|
|
|
WATER
คุณภาพของน้ำที่ใช้ชงชาก็มีผลต่อรสชาติของชา เลือกใช้น้ำต้มสุก หลีกเลี่ยงการใช้น้ำแร่และน้ำที่มีคลอรีน ไม่ควรต้มน้ำร้อนด้วยไมโครเวฟเพราะจะทำลายออกซิเจนที่มีในน้ำ ซึ่งมีส่วนช่วยให้น้ำรสชาติดี ใส ไม่กระด้าง และออกซิเจนในน้ำยังมีส่วนกระตุ้นการปลดปล่อยกลิ่นจาก essential oil ของใบชาและส่วนผสมในชาของคุณให้ชาของคุณมีรสชาติที่ดีขึ้นอีกด้วย
|
|
|
Blending การปรุงชา
สิ่งที่สำคัญก่อนเริ่มปรุงชาคือเราจะต้องรู้จักส่วนผสมแต่ละตัวให้ดีก่อน โดยเฉพาะกลิ่นและรสชาติ พยายามทำความคุ้นเคยกับกลิ่นและรสเพื่อที่จะรู้ว่าคุณอยากจะได้ชาที่ปรุงแล้วมีรสชาติและกลิ่นแบบไหนนำ และแบบไหนตามมา
Trust your palate!
การปรุงชาแต่ละตัวควรจะมาจากการสร้างสมดุลของกลิ่นและรสของส่วนผสมที่ไม่มากจนเกินไป โดยให้มีทั้งกลิ่นที่เป็น top และ base note หรือมีรสที่นำมาก่อนแล้วมีรสอื่นๆตามหลังจากที่ดื่ม ขณะเดียวกันควรพยายามให้เบลนมีรสชาติและกลิ่นที่ชัดเจน การใช้ส่วนผสมหลากหลาย แตกต่างกันเกินไปอาจจะทำให้สับสนและรสชาติตีกันจนไม่รู้รสที่แท้จริงได้
ค่อยๆเริ่มจากการใช้ส่วนผสมปริมาณน้อยๆก่อน หลังจากนั้นคุณสามารถเพิ่มปริมาณได้เรื่อยๆ ตามรส กลิ่นและความเข้มที่ชอบ |
|
|
|